top of page
Untitled-1.png
Untitled-3.png

APrime Plus Co., Ltd.

Logo-N2.png

เหล็กกัลวาไนซ์ GALVANIZED STEEL คืออะไร

อัปเดตเมื่อ 6 ต.ค. 2566


 

ทำความเข้าใจก่อนเลือกใช้งาน เหล็กกัลวาไนซ์ คือ อะไร

เหล็กกัลวาไนซ์ คือ อะไร

เหล็กชุบซิงค์ เหล็กขาว เหล็กฟรีซิงค์ คือ เหล็กกัลวาไนซ์ ในประเทศไทย เหล็กกัลวาไนซ์ที่ได้รับความ นิยมใช้กันมี 2 ชนิดหลักๆ คือ

  1. เหล็กฟรีซิงค์กัลวาไนซ์ (Prezinc Galvanzied)

  2. การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing)

ทำไมคนถึงนิยมหันมาใช้เหล็กกัลวาไนซ์แทนเหล็กรูปพรรณ

  • เหล็กกัลาไนซ์มีประโยชน์เรื่องทนสนิม กันสนิม และ ช่วยลดต้นทุนเรื่องเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำสี

  • เหล็กัลวาไนมีหลายรูปทรงเทียบเคียงกับเหล็กรูปพรรณ ได้แก่ เหล็กกล่องเหลี่ยมกัลวาไนซ์ เหล็กกล่องแบนกัลวาไนซ์ เหล็กตัวซีกัลวาไนซ์ เหล็กฉากกัลวาไนซ์ ท่อกลมกัลวาไนซ์ แต่ละรูปแบบของเหล็กสามารถนำมาใช้งานโครงสร้างหลังคา เหล็กโครงสร้างอาคารได้เช่นเดียวกับเหล็กรูปพรรณในปัจจุบันเหล็กกัลวาไนซ์เป็นที่ใช้กันแพร่หลายมากขึ้น เพราะเรื่องทนสนิม กันสนิม และ ช่วยลดต้นทุนเรื่องเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำสีก่อนใช้งานจริง

ที่จริงแล้วเหล็กกัลวาไนซ์ก็มีกระบวนการผลิตหลายวิธีทั่วโลก แตกแต่งกันไป เช่น

  • การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing)

  • การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (electro galvanizing)

  • การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (continuous hot dip galvanizing)

  • การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน (zinc spraying)

  • การทาด้วยสีฝุ่นสังกะสี (zinc-rich paints)

  • การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง (sherardizing)


แต่เหล็กกัลวาไนซ์ที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย คือ


1. การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing) หรือ HDG นิยมใช้ในงานราชการ งานโรงงานมาตราฐานต่างๆ เสาไฟฟ้าและเหล็กโครงสร้างงานโซล่าเซลล์

2. การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (electro galvanizing) จะเป็นงานชุบขาวของน็อต สกรู เจโบลท์ ไอโบลท์ แอลโบลท์ ต่างๆ อุปกรณืที่มีชิ้ันงานไม่ใหญ่มาก

3. การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (continuous hot-dip galvanizing) งานแผ่นสังกะสีต่างๆ จะผลิตจากกระบวนการ continuous hot-dip galvanizing ก่อนนำมาขึ้นรูปชิ้นงานเป็นเหล็กแผ่นกัลวาไนซ์ งานแผ่นเหล็กประกอบกัลวาไนซ์ หรือ นำมารีดขึ้นรูปเป็นเหล็กกล่องกัลวาไนซ์


เนื่องจากกระบวนการผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ 3 ประเภทนี้ สามารถนำมาใช้งานได้เลย สะดวกต่อการใช้งาน และมีสินค้าสำเร็จรูปวางจำหน่าย ดังนั้นบทความนี้จะให้สาระความรู้ไปที่กระบวนการผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ 3 ประเภทแรก


1. การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing - HDG)

กระบวนการนำเหล็กกล้าที่ขึ้นรูปแล้วมาจุ่มลงในสังกะสีหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 450 องศา เป็นการกระบวนการทางโลหะวิทยา หรือที่เรียกว่า Galvanizing ในขณะที่เหล็กรูปพรรมจุ่มลงในบ่อชุบกัลวาไนซ์ เหล็กจะทำปฎิกิริยากับสังกะสี หรือ ซิงค์โดยสังกะสีจะยึดเกาะติดแน่นกับผิวเหล็กเพื่อสร้างชั้นเคลือบกันสนิม จะเกิดการสร้างชั้นโลหาผสมระหว่างเหล็กกับสังกะสีขึ้นมา ตามภาพประกอบ ภาพขยายชั้นเคลือบเหล็กชุบกัลวาไนซ์



เหล็กชุบกัลวาไนซ์แบบ HDG จะมีมาตราฐาน ASTM A123 กำหนดเรื่องค่าความหนาของชั้นเคลือบสังกะสีหรือซิงค์ มีหน่วยที่เรียกว่า ไมครอน (Microns) ค่าความหนาของชั้นเคลือบสังกะสี เริ่มต้นที่ 45 ไมครอน




2. การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Electro Galvanizing)

กระบวนการเคลือบชั้นสังกะสีโดยในกระแสไฟฟ้าเคลือบลงบนแผ่นเหล็กที่เรียบ เมื่อเทียบกับแบบ Hot Dip Galvanized การเคลือบชั้นสังกะสีแบบไฟฟ้าจะมีชั้นเคลือบที่บางกว่า แต่ผิวเหล็กจะสวยและเงางามกว่า ดังนั้น วิธีการเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า หรือ Electrogalvanizing จึงนิยมทำกับแผ่นเหล็กขนาดต่างๆ เช่น แผ่นเหล็กกัลวาไนซ์ขนาด 4x8 ฟุต หรือ 5x8 ฟุต และ ลวดชุบกัลวาไนซ์ขนาดต่างๆ ก็ผลิตจากกระบวนการ Electro Galvanizing เช่นกัน

photo credit: metal west USA.

3. การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (continuous hot dip galvanizing / Pre Zinc Galvanized)


กระบวนเคลือบสังกะสีโดยการนำคอยส์เหล็กม้วนใหญ่จุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี หรือ ซิงค์หลอมเหลวด้วยความร้อน 450 องศาซึ่งคล้ายกับการจุ่มร้อนที่กล่าวมา แต่เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง หรือ continuous hot dip galvanizing คือ การนำม้วนคอยส์เหล็กมาจุ่มลงในบ่อชุบสังกะสีโดยผ่านลูกหมุนคลายม้วนด้วยความเร็วสูงเพื่อให้ผิวเหล็กจุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี โดยชั้นเหล็กจะถูกผ่านกระบวนการชุบ้วยความเร็วและในบ่อสังกะสีประมาณ 2 ถึง 4 วินาที ซึ่งกระบวนการผลิตนี้เกิดขึ้นสำเร็จรูปในโรงงานผลิตเหล็กเท่านั้น เมื่อผ่านการผลิตแล้วเหล็กกัลวาไนซ์ชนิดนี้มันจะเรียกกันว่า Pre Galvanizing Steel หรือ (GI) Galvanized


ความหนาของเหล็กที่สามารถเคลือบได้จะเริ่มที่ 0.25 มม ขึ้นไป ถ้าพูดถึง แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่เราใช้ทำหลังคาอยู่ทุกวันก็อาจจะเข้าใจง่ายขึ้นแน่นนอน แผ่นเมทัลชีตต่างๆ หรือ แผ่นเหล็กฟรีซิงค์กัลวาไนซ์ที่นำมาพับขึ้ันรูปเป็นเหล็กกล่อง ท่อกลม ฉากพับต่างๆนั้น มาจากกระบวนการจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่องเช่นกัน


ความหนาชั้นเคลือบสังกะสีของ Pre Zinc Galvanized จะระบุอยู่ที่ค่า Z (Zinc) เช่น Z275 , Z08, Z07 คือค่าระบุมีหน่วยเป็น กรัม ต่อ ตารางเมตร ตัวอย่างเช่น Z275 จะมีความหนาของชั้นเคลือบสังกะสีอยู่ที่ 275 กรัมต่อตารางเมตร โดยจะเป็นค่ามวลเฉลี่ยของสังกะสีที่เคลือบรวมทั้งสองด้านคอยส์เหล็ก จะมีการตรวจสอบมวลต่ำสุดของสังะสีเคลือบรวมทั้ง 2 ด้าน (g/m2) โดยจะหาค่าเฉลีย 3 จุด


Pre Zinc Galvanized Coating Standard



โดยทั่วไปในประเทศไทย มีการนำเข้าคอยส์ PreZinc Galvanized ทั้งจากประเทศจีน เกาหลี และ เวียดนาม โดยค่ามาตราฐาน มักจะหลากหลายขึ้นอยู่กับกลไกของแต่ละผู้ผลิตในประเทศไทย


สินค้าที่สามารถนำเหล็กฟรีซิงค์กัลวาไนซ์ GI PreZinc Galvanized ได้แก่ แผ่นเหล็กกัลวาไนซ์ ท่อกลมกัลวาไนซ์ ท่อโครงสร้างกัลวาไนซ์ เหล็กฉากกัลวาไนซ์ เหล็กกล่องกัลวาไนซ์ แผ่นเมทัลชีทหลังคา ก็สามารถใช้ม้วนคอยส์เหล็กฟรีซิงค์กัลวาไนซ์มาขึ้นรูปได้เช่นกัน


ตัวอย่างกระบวนการผลิตคอยส์เหล็ก Pre Zinc Galvanized


เหล็กกัลวาไนซ์ GI หรือ Galvanzied Steel GI มี มอก. ออกมารอบรับ คือ มอก 50-2561 ซึ่งได้แบ่งประเภทเหล็กกัลวาไนซ์ GI ออกมา 5 ชนิดดังนี้

  1. เหล็กแผ่นม้วน (GI Coil) หรือ เหล็กม้วนกัลวาไนซ์

  2. เหล็กแผ่นแถม (GI Strip หรือ เหล็กม้วนกัลวาไนซ์ที่นำมาสลิตเพื่อนำไปรีดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แปหลังคา รางยู ต่างๆ

  3. เหล็กแผ่นตัด (GI Sheet) หรือ เหล็กแผ่นกัลวาไนซ์ สังกะสีแผ่นเรียบ

  4. เหล็กแผ่นลูกฟูกลอนใหญ่ (BIG Conrrugated GI Sheet)

  5. เหล็กแผ่นลูกฟูกลอนเล็ก (Small Conrrugated GI Sheet)


เรียบเรียงข้อมูล โดย ทีมงาน บริษัทเอไพร์ม พลัส จำกัด

แหล่งที่มาข้อมูล


สั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Tel: 02-894-8847 (Head Office)

095-598-2658 (Hot-Line)

Line ID: @WATSADU4U


bottom of page