หน่วยวัดแรงดัน MPa (เมกะปาสคาล) และ bar (บาร์) คืออะไร แปลง Mpa เป็น Bar

MPA (เมกะปาสคาล) และ BAR (บาร์) คืออะไร คือ หน่วยวัดแรงดัน ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานวิศวกรรมและอุตสาหกรรมต่างๆ ก่อนคือต้องทำความเข้าใจคำว่า แรงดัน ซึ่งความสำคัญต่อเสปคการเลือกซื้อท่อประปา ท่อแรงดัน
แรงดันคืออะไร
แรงดัน (Pressure) คือปริมาณทางฟิสิกส์ที่แสดงถึงแรงที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ โดยทั่วไปแล้ว แรงดันสามารถเกิดขึ้นได้จากของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ หน่วยวัดแรงดันในระบบ SI คือปาสคาล (Pa) ซึ่งเท่ากับหนึ่งนิวตันต่อตารางเมตร (N/m²). นอกจากนี้ยังมีหน่วยวัดอื่นๆ ที่นิยมใช้กัน เช่น บาร์ (bar), ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi), และมิลลิเมตรปรอท (mmHg)
ตัวอย่างของแรงดันในชีวิตประจำวัน:
แรงดันน้ำในท่อประปา: น้ำที่ไหลในท่อประปาจะสร้างแรงดันที่ทำให้เราสามารถใช้น้ำได้อย่างสะดวก
แรงดันบรรยากาศ: อากาศที่อยู่รอบตัวเราก็มีแรงดัน ซึ่งเรียกว่าแรงดันบรรยากาศ ที่เวลาเราขึ้นเครื่องบินแล้วเกิดแรงดันที่ต่างกว่าอยู่บนพื้นดิน ทำให้เราปวดหู เจ็บหูเวลาขึ้นเครื่องบินนั่นเอง
MPa (เมกะปาสคาล) คืออะไร
เป็นหน่วยวัดแรงดันในระบบ SI (หน่วยวัดระหว่างประเทศ)
1 เมกะปาสคาล (MPa) เท่ากับ 1 ล้านปาสคาล (Pa)
ปาสคาล (Pa) คือหน่วยวัดแรงดันที่เท่ากับแรง 1 นิวตันกระทำต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
MPA นิยมใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับแรงดันสูง เช่น งานโครงสร้าง งานท่อส่งน้ำมันและก๊าซ งานระบบไฮดรอลิก
bar (บาร์)
เป็นหน่วยวัดแรงดันที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมและงานทั่วไป
1 บาร์ (bar) เท่ากับ 100,000 ปาสคาล (Pa) หรือ 0.1 เมกะปาสคาล (MPa)
บาร์นิยมใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับแรงดันปานกลาง เช่น งานระบบลม งานระบบประปา งานระบบทำความเย็น
ความสัมพันธ์ระหว่าง MPa และ bar
1 MPa = 10 bar
1 bar = 0.1 MPa
ดังนั้น เมื่อต้องการแปลงหน่วยจาก MPa เป็น Bar ให้ X คูณค่า MPa ด้วย 10 และเมื่อต้องการแปลงหน่วยจาก BAR เป็น MPa ให้ X คูณค่า BAR ด้วย 0.1
สูตรคำนวณดังนี้:
(ค่าแรงดัน : หน่วย) MPa x 10 = bar
(ค่าแรงดัน : หน่วย) bar x 0.1 = MPa
ตัวอย่าง:
ท่อประปากัลวาไนซ์ 2 นิ้ว มอก. 276 จากการทำ Hydrostatic Test Pressure หรือ เทสแรงดันน้ำ รับแรงดัน ได้ 17.2 MPa
ต้องการแปลงหน่วย MPa เป็น BAR ได้ดังนี้
ต้องการแปลงค่า Mpa -> bar สูตร : (ค่าแรงดัน : หน่วย)MPa x 10 = bar
17.2 x 10 = 172 bar
ต้องการแปลงค่า bar -> Mpa สูตร : (ค่าแรงดัน : หน่วย) bar x 0.1 = MPa
172 x 0.1= 17.2 MPa
ตารางแปลง MPa และ Bar
Megapascal [MPa] | Bar |
0.01 MPa | 0.1 bar |
0.1 MPa | 1 bar |
1 MPa | 10 bar |
2 MPa | 20 bar |
3 MPa | 30 bar |
5 MPa | 50 bar |
10 MPa | 100 bar |
20 MPa | 200 bar |
50 MPa | 500 bar |
100 MPa | 1000 bar |
1000 MPa | 10000 bar |
ก่อนเลือกซื้อท่อประปากัลวาไนซ์ ท่อสตรีมแรงดัน SCH 10/20/40 และ ASTM ต้องเข้าใจเรื่องหน่วยวัดแรงดัน MPA (เมกะปาสคาล) และ BAR (บาร์) ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกันหน่วยวัดแรงดัน เพื่อ เลือกสินค้าให้เหมาะสมกันการใช้งาน
อย่าลืม กดติดตามบทความ ข่าวสารจาก เอพลัส วัสดุ เราจะนำความรู้มาแบ่งปันเพื่อช่วยให้วงการก่อสร้างสร้างมาตรฐานที่ดีและเลือกใช้วัสดุที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
ข้อมูลเขียนใหม่ภายในทีมงานการตลาดออนไลน์ บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด ข้อความมีลิขสิทธิ์ @APLUS WATSADU
Comentários