เหล็กกัลวาไนซ์ GALVANIZED STEEL คืออะไร
อัปเดตเมื่อ 6 ต.ค. 2566
ทำความเข้าใจก่อนเลือกใช้งาน เหล็กกัลวาไนซ์ คือ อะไร
เหล็กกัลวาไนซ์ คือ อะไร
เหล็กชุบซิงค์ เหล็กขาว เหล็กฟรีซิงค์ คือ เหล็กกัลวาไนซ์ ในประเทศไทย เหล็กกัลวาไนซ์ที่ได้รับความ นิยมใช้กันมี 2 ชนิดหลักๆ คือ
เหล็กฟรีซิงค์กัลวาไนซ์ (Prezinc Galvanzied)
การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing)
ทำไมคนถึงนิยมหันมาใช้เหล็กกัลวาไนซ์แทนเหล็กรูปพรรณ
เหล็กกัลาไนซ์มีประโยชน์เรื่องทนสนิม กันสนิม และ ช่วยลดต้นทุนเรื่องเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำสี
เหล็กัลวาไนมีหลายรูปทรงเทียบเคียงกับเหล็กรูปพรรณ ได้แก่ เหล็กกล่องเหลี่ยมกัลวาไนซ์ เหล็กกล่องแบนกัลวาไนซ์ เหล็กตัวซีกัลวาไนซ์ เหล็กฉากกัลวาไนซ์ ท่อกลมกัลวาไนซ์ แต่ละรูปแบบของเหล็กสามารถนำมาใช้งานโครงสร้างหลังคา เหล็กโครงสร้างอาคารได้เช่นเดียวกับเหล็กรูปพรรณในปัจจุบันเหล็กกัลวาไนซ์เป็นที่ใช้กันแพร่หลายมากขึ้น เพราะเรื่องทนสนิม กันสนิม และ ช่วยลดต้นทุนเรื่องเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำสีก่อนใช้งานจริง
ที่จริงแล้วเหล็กกัลวาไนซ์ก็มีกระบวนการผลิตหลายวิธีทั่วโลก แตกแต่งกันไป เช่น
การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing)
การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (electro galvanizing)
การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (continuous hot dip galvanizing)
การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน (zinc spraying)
การทาด้วยสีฝุ่นสังกะสี (zinc-rich paints)
การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง (sherardizing)
แต่เหล็กกัลวาไนซ์ที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย คือ
1. การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing) หรือ HDG นิยมใช้ในงานราชการ งานโรงงานมาตราฐานต่างๆ เสาไฟฟ้าและเหล็กโครงสร้างงานโซล่าเซลล์
2. การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (electro galvanizing) จะเป็นงานชุบขาวของน็อต สกรู เจโบลท์ ไอโบลท์ แอลโบลท์ ต่างๆ อุปกรณืที่มีชิ้ันงานไม่ใหญ่มาก
3. การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (continuous hot-dip galvanizing) งานแผ่นสังกะสีต่างๆ จะผลิตจากกระบวนการ continuous hot-dip galvanizing ก่อนนำมาขึ้นรูปชิ้นงานเป็นเหล็กแผ่นกัลวาไนซ์ งานแผ่นเหล็กประกอบกัลวาไนซ์ หรือ นำมารีดขึ้นรูปเป็นเหล็กกล่องกัลวาไนซ์
เนื่องจากกระบวนการผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ 3 ประเภทนี้ สามารถนำมาใช้งานได้เลย สะดวกต่อการใช้งาน และมีสินค้าสำเร็จรูปวางจำหน่าย ดังนั้นบทความนี้จะให้สาระความรู้ไปที่กระบวนการผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ 3 ประเภทแรก
1. การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing - HDG)
กระบวนการนำเหล็กกล้าที่ขึ้นรูปแล้วมาจุ่มลงในสังกะสีหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 450 องศา เป็นการกระบวนการทางโลหะวิทยา หรือที่เรียกว่า Galvanizing ในขณะที่เหล็กรูปพรรมจุ่มลงในบ่อชุบกัลวาไนซ์ เหล็กจะทำปฎิกิริยากับสังกะสี หรือ ซิงค์โดยสังกะสีจะยึดเกาะติดแน่นกับผิวเหล็กเพื่อสร้างชั้นเคลือบกันสนิม จะเกิดการสร้างชั้นโลหาผสมระหว่างเหล็กกับสังกะสีขึ้นมา ตามภาพประกอบ ภาพขยายชั้นเคลือบเหล็กชุบกัลวาไนซ์
เหล็กชุบกัลวาไนซ์แบบ HDG จะมีมาตราฐาน ASTM A123 กำหนดเรื่องค่าความหนาของชั้นเคลือบสังกะสีหรือซิงค์ มีหน่วยที่เรียกว่า ไมครอน (Microns) ค่าความหนาของชั้นเคลือบสังกะสี เริ่มต้นที่ 45 ไมครอน
2. การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Electro Galvanizing)
กระบวนการเคลือบชั้นสังกะสีโดยในกระแสไฟฟ้าเคลือบลงบนแผ่นเหล็กที่เรียบ เมื่อเทียบกับแบบ Hot Dip Galvanized การเคลือบชั้นสังกะสีแบบไฟฟ้าจะมีชั้นเคลือบที่บางกว่า แต่ผิวเหล็กจะสวยและเงางามกว่า ดังนั้น วิธีการเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า หรือ Electrogalvanizing จึงนิยมทำกับแผ่นเหล็กขนาดต่างๆ เช่น แผ่นเหล็กกัลวาไนซ์ขนาด 4x8 ฟุต หรือ 5x8 ฟุต และ ลวดชุบกัลวาไนซ์ขนาดต่างๆ ก็ผลิตจากกระบวนการ Electro Galvanizing เช่นกัน
photo credit: metal west USA.
3. การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (continuous hot dip galvanizing / Pre Zinc Galvanized)
กระบวนเคลือบสังกะสีโดยการนำคอยส์เหล็กม้วนใหญ่จุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี หรือ ซิงค์หลอมเหลวด้วยความร้อน 450 องศาซึ่งคล้ายกับการจุ่มร้อนที่กล่าวมา แต่เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง หรือ continuous hot dip galvanizing คือ การนำม้วนคอยส์เหล็กมาจุ่มลงในบ่อชุบสังกะสีโดยผ่านลูกหมุนคลายม้วนด้วยความเร็วสูงเพื่อให้ผิวเหล็กจุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี โดยชั้นเหล็กจะถูกผ่านกระบวนการชุบ้วยความเร็วและในบ่อสังกะสีประมาณ 2 ถึง 4 วินาที ซึ่งกระบวนการผลิตนี้เกิดขึ้นสำเร็จรูปในโรงงานผลิตเหล็กเท่านั้น เมื่อผ่านการผลิตแล้วเหล็กกัลวาไนซ์ชนิดนี้มันจะเรียกกันว่า Pre Galvanizing Steel หรือ (GI) Galvanized
ความหนาของเหล็กที่สามารถเคลือบได้จะเริ่มที่ 0.25 มม ขึ้นไป ถ้าพูดถึง แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่เราใช้ทำหลังคาอยู่ทุกวันก็อาจจะเข้าใจง่ายขึ้นแน่นนอน แผ่นเมทัลชีตต่างๆ หรือ แผ่นเหล็กฟรีซิงค์กัลวาไนซ์ที่นำมาพับขึ้ันรูปเป็นเหล็กกล่อง ท่อกลม ฉากพับต่างๆนั้น มาจากกระบวนการจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่องเช่นกัน
ความหนาชั้นเคลือบสังกะสีของ Pre Zinc Galvanized จะระบุอยู่ที่ค่า Z (Zinc) เช่น Z275 , Z08, Z07 คือค่าระบุมีหน่วยเป็น กรัม ต่อ ตารางเมตร ตัวอย่างเช่น Z275 จะมีความหนาของชั้นเคลือบสังกะสีอยู่ที่ 275 กรัมต่อตารางเมตร โดยจะเป็นค่ามวลเฉลี่ยของสังกะสีที่เคลือบรวมทั้งสองด้านคอยส์เหล็ก จะมีการตรวจสอบมวลต่ำสุดของสังะสีเคลือบรวมทั้ง 2 ด้าน (g/m2) โดยจะหาค่าเฉลีย 3 จุด
Pre Zinc Galvanized Coating Standard
โดยทั่วไปในประเทศไทย มีการนำเข้าคอยส์ PreZinc Galvanized ทั้งจากประเทศจีน เกาหลี และ เวียดนาม โดยค่ามาตราฐาน มักจะหลากหลายขึ้นอยู่กับกลไกของแต่ละผู้ผลิตในประเทศไทย
สินค้าที่สามารถนำเหล็กฟรีซิงค์กัลวาไนซ์ GI PreZinc Galvanized ได้แก่ แผ่นเหล็กกัลวาไนซ์ ท่อกลมกัลวาไนซ์ ท่อโครงสร้างกัลวาไนซ์ เหล็กฉากกัลวาไนซ์ เหล็กกล่องกัลวาไนซ์ แผ่นเมทัลชีทหลังคา ก็สามารถใช้ม้วนคอยส์เหล็กฟรีซิงค์กัลวาไนซ์มาขึ้นรูปได้เช่นกัน
ตัวอย่างกระบวนการผลิตคอยส์เหล็ก Pre Zinc Galvanized
เหล็กกัลวาไนซ์ GI หรือ Galvanzied Steel GI มี มอก. ออกมารอบรับ คือ มอก 50-2561 ซึ่งได้แบ่งประเภทเหล็กกัลวาไนซ์ GI ออกมา 5 ชนิดดังนี้
เหล็กแผ่นม้วน (GI Coil) หรือ เหล็กม้วนกัลวาไนซ์
เหล็กแผ่นแถม (GI Strip หรือ เหล็กม้วนกัลวาไนซ์ที่นำมาสลิตเพื่อนำไปรีดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แปหลังคา รางยู ต่างๆ
เหล็กแผ่นตัด (GI Sheet) หรือ เหล็กแผ่นกัลวาไนซ์ สังกะสีแผ่นเรียบ
เหล็กแผ่นลูกฟูกลอนใหญ่ (BIG Conrrugated GI Sheet)
เหล็กแผ่นลูกฟูกลอนเล็ก (Small Conrrugated GI Sheet)
เรียบเรียงข้อมูล โดย ทีมงาน บริษัทเอไพร์ม พลัส จำกัด
แหล่งที่มาข้อมูล
สั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Tel: 02-894-8847 (Head Office)
095-598-2658 (Hot-Line)
Line ID: @WATSADU4U
E-mail: Info@aprimeplus.com
Comments