top of page
Untitled-1.png
Untitled-3.png

APrime Plus Co., Ltd.

Logo-N2.png
รูปภาพนักเขียนSale Support Team

ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ ราคาเหล็กรูปพรรณ ที่แปรผัน : ผู้รับเหมาต้องรู้ไว้เตรียมปรับตัว

อัปเดตเมื่อ 8 มี.ค. 2565


ข่าวสารอัพเดท ราคาเหล็ก ณ วันที่ 7/8/64


จากที่มีการประชุมสมาคมฯที่ผ่านมาพบว่าสถานการณ์เหล็กในปัจจุบันมีความอ่อนไหวเป็นอย่างมากในเรื่องของราคาและปริมาณโดยมีเหตุผลดังนี้

1. กำลังการผลิตในประเทศไทยลดลง ผลกระทบจากการระบาดของ โควิด 19 ตั้งแต่ปี 2563

จากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กมีจำนวนแรงงานบางส่วนได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ จึงส่งผลให้ขาดแรงงาน กระบวนการผลิตและจัดส่งล่าช้า ส่งผลให้กำลังการผลิตสินค้าเหล็กในประเทศลดลงไปกว่า 40% จึงทำให้สินค้าท่อเหล็กต่างๆที่ออกสู่ตลาดมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาด ทั้งนี้ตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่ยังมีจำนวนสูง จึงส่งผลให้ไม่สามารถเดินเครืองจักรได้ตามกำลังการผลิต รวมถึงปัญหาด้านขนส่งซึ่งส่งผลให้เกิดความล่าช้าและสินค้าบางรายการนั้นขาดแคลน จึงมีผลกระทบทางด้านอุปสงค์และอุปทาน จึงกระทบทางด้านราคาเหล็กทุกชนิดและมีความแปรผันมากขึ้น

2. จีนออกนโยบายยกเลิก tax rebate หรือ การยกเลิกลดหย่อนคืนภาษี ทำให้ต้นทุนการส่งออก-นำเข้าวัตถุดิบจากจีนสูงขึ้นอีก13% ทำให้ต้นทุนเหล็กขึ้นมาสูงกว่า 10%-15%

3. การนำเข้า-ส่งออกวัตถุดิบที่ล่าช้าขึ้น ผลจากนโยบายด้านสาธารณสุขของจีนที่จะต้องมีการทำความสะอาดเรือทุกลำที่เข้ามายังประเทศจีน ทำให้shipmentต่างๆต้องล่าช้าไปกว่า 2 สัปดาห์ถึง1เดือน ทำให้สินค้านั้นส่งมอบไม่ทันจนอาจเกิดปัญหาฝั่ง supply side


4. การลดกำลังการผลิตภายในประเทศจีนเองเพื่อลดปัญหาด้านมลพิษ ทำให้การผลิตวัตถุดิบออกมาน้อยลง จึงกระทบต่อการส่งออกตามออร์เดอร์ในต่างประเทศ ด้านอุปทาน หรือ supply นั้นหดตัวลงเป็นอย่างมาก

5. ผลกระทบต่างๆทำให้การนำเข้าวัตถุดิบน้อยลง ตัวเลขการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นในส่วนของFlat และ Long Product ในช่วงที่ผ่านมาตัวเลขการนำเข้าระหว่างปลายไตรมาส 2 ปี 2564 ถึงไตรมาส 3 ปี 2564 นั้น ลดลงกว่า60% ทำให้วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตสินค้านั้นจะเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบในไม่ช้า


6. มาตราการการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นมัวนที่มีแหล่งที่มาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี 2564 (ประกาศราชกิจจานุเบกษา) มีผลบังคับใช้ 5 ปีนับจากนี้ โดยมีการเรียกเก็บอากรตอบโต้ โดยมีข้อมูลเบื้องดังนี้

กลุ่มสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศจีน ต้องมีการเสียภาษีอากรเพิ่มของราคา CIF ดังนี้

  • HBIS Group +8.2%

  • ianjin Haigang +3.67%

  • Benxi Group +3.05%

  • Baotou S steel; Tianjin Rolling-One; Ma'anshan Steel; Angang Steel Group; Baosteel Group; Shougang; Yieh Phui (China); Shangang Rizhao; Fujian Kaijing Green Tech +4.75%

  • All other exporters +37.54%

ข้อมูลอ้างอิงจากประกาศ เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 208ง ราชกิจจานุเบกษา 6 กันยายน 2564 (หน้า11)

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดนั้นจะสามารถสรุปได้ว่าในตอนนี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาด้านการขาดแคลนวัตถุดิบที่จะมาใช้สำหรับการผลิตสินค้า capacityที่ลดตัวลงอย่างต่อเนื่องจนทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19

ด้วยปัจจัยดังกล่าว ทำให้มีผลกระทบต่อการผันแปรของราคาเหล็กรูปพรรณ เหล็กรีดเย็น ทุกชนิด ที่มีการนำเข้าวัตถุดิบมาเพื่อผลิตและจำหน่ายภายในประเทศไทย


สิ่งที่ผู้รับเหมาต้องเตรียมรับมือ นับจากนี้.......

  1. สื่อสารกับเจ้าของงานให้รับทราบถึงต้นทุนวัสดุที่สูงขึ้น

  2. ปรับราคาวัสดุใน BOQ เดิม ให้อ้างอิงกับราคาตลาด ณ ปัจจุบัน

  3. วางแผนเตรียมการสั่งวัสดุเข้าหน้างานล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์

  4. สามารถเจรจาต่อรองเรื่องการมัดจำเพื่อล็อคราคาและสินค้าล่วงหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละร้านค้านั้นๆ

บทความเรียบเรียง โดย บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด APLUS WATSADU

Mobile: 095-598-2658

Line: @watsadu4u

ดู 226 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page