ท่อประปากัลวาไนซ์ BS-1387:1985 คาดสี (Galvanized steel pipe) ท่อแป๊ป คาดเหลือง / แดง / น้ำเงิน ต่างกันอย่างไร ?
อัปเดตเมื่อ 27 มิ.ย.
ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดสี (Galvanized steel pipe) ท่อแป๊ป BS-S คาดเหลือง / BS-H แดง / BS-M น้ำเงิน ต่างกันอย่างไร ?
ท่อประปากัลวาไนซ์ คือ ท่ออะไร (Galvanized Pipe)
ท่อประปา (Galvanized steel Pipe) ช่างส่วนใหญ่เรียกว่า แป๊บขาว, แป๊ปน้ำ, ท่อHDG, ท่อ GI, ท่อน้ำประปา, ท่อประปากัลวาไนซ์ BS-S คาดเหลือง , BS-H คาดแดง , BS-M คาดน้ำเงิน, , แป๊บสังกะสี ปลายเกลียว / ปลายเรียบ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยของช่าง
ท่อประปากัลวาไนซ์ HDG หรือ ท่อประปา BS ผลิตโดยการนำ เหล็กรีดร้อนม้วน SS400 (หรือเรียกว่า เหล็กดำม้วน) นำมาสลิตขึ้นรูปเป็นท่อเหล็กและนำไปลงบ่อชุบสังกะสี 99.995% ที่อุณหภูมิ 450 C° (Min) 320 gm/m²- (Maz 450 gm/m² หรือ (ขึ้นต่ำ 49 ถึง 65 ไมครอน) ขั้นความหนาของสังกะสีเคลือบจะเป็นไปตามค่ามาตราฐาน BS-1387-1985 จะป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อน จากสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้ท่อเหล็กแข็งแรงทนทาน มีความสามารถในการรับแรงดันได้ดี เชื่อมต่อสะดวก มีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดสนิม มีอายุการใช้งานยาวนานกว่ากว่าท่อเหล็กธรรมดา กว่า 3 เท่า
การนำไปใช้งาน ท่อประปากัลวาไนซ์ (Galvanized Steel Pipe) นิยมนำไปใช้งานในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการผุกร่อนของเหล็กสูง เช่น ภายในโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ สิ่งปลูกสร้างบริเวณริมทะเล งานที่ต้องการความแข็งแรงหรือบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมาก มีแรงกดสูง เช่น ท่อโสโครก ท่อระบายน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อลำเลียง นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้งานในเรือนเพาะชำ ทำรั้ว ประตู เสาวิทยุ เสาโทรทัศน์ ราวตากผ้า งานตกแต่งทั่วไป ฯลฯ
ใช้หน่วยนับเป็นหุน หรือ นิ้ว เช่น 1/4 นิ้ว - 2 หุน
Outside Diameter กับ Inside Diameter แตกต่างกันระหว่าง เกรดท่อ เช่น Light (OD=13.66 mm,thickness=1.8 mm,mass 0.515 kg/m)
ท่อประปากัลวาไนซ์ BS-M / BS-H / BS-S ที่มีมาตราฐาน 1387:1985 มีคุณสมบัติอย่างไร?
มาตราฐาน 1387:1985 คือ มาตราฐานท่อที่อ้างอิงจาก ประเทศอังกฤษ โดย สถาบัน BSI-British Standards Institution ที่กำหนดท่อขนาด DN8 (1/4") ถึง DN150 (6") และจะมีลักษณะเป็นปลายเกลียวตามมาตราฐน มีการทำเทสแรงดันน้ำ จึงสามารถนำมาใช้ในงานท่อน้ำประปาได้
การรับแรงดัน 50 Bars หรือเทียบเท่า 5 Mpa
Elongation ต่ำสุด : 20%
Tensile Strength : 320-460 Mpa
Yeild Strength : 195 Mpa
ความหนาท่อ มีค่า + / - ตามมาตราฐาน 8-10%
น้ำหนักท่อ มีค่า + / - ตามมาตราฐาน 8-10%
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ : BS 1387:1985 มีชั้นความหนา 3 ประเภท ดังนี้ - Class Light คาดเหลือง ท่อบาง (BS-S)
- Class Medium คาดนำ้เงิน ท่อปานกลาง (BS-M)
- Class Heavy คาดแดง ท่อหนาสุด (BS-H)
ท่อกัลวาไนซ์คาดเหลือง BS-S / แป๊ปน้ำ BS-M สีน้ำเงิน / ท่อเหล็กประปาคาดสีแดง BS-H ต่างกันอย่างไร ?
ลักษณะการใช้งานของท่อเหล็กประปาแต่ละสี
ท่อกัลวาไนซ์ คาดเหลือง BS-S
ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดเหลือง BS-S ลักษณะความหนาของผนัง ท่อบางสุด
เหมาะกับงานที่มีการรับน้ำหนักไม่มาก เช่น เต๊นท์ นั่งร้าน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
มีทั้งปลายเกลียว และปลายเรียบ
สามารถต๊าปเกลียวได้ แต่ไม่ลึกเนื่องจากท่อบาง แนะนำให้เลือกท่อปลายเกลียวมาจากโรงงาน จะสามารถลดอัตราการเกิดสนิมบริเวณเกลียวได้ดีกว่าการทำเกลียวหน้างาน
ท่อประปากัลวาไนซ์ ชนิดบาง นิยมนำไปใช้งานท่อระบายน้ำทิ้งในอาคารทั่วไปเป็นหลัก
ความยาวมาตรฐาน 6 เมตร/ท่อน
ผลิตโดยการชุบกัลวาไนซ์แบบจุ่มร้อน มีอายุการใช้งานของยาวนานกว่า 20 ปี
BS 1387
การใช้งานท่อกัลวาไนซ์ คาดเหลือง
ท่อคาดเหลือง เป็นท่อที่เหมาะกับงานที่มีการรับน้ำหนักพอสมควร เช่น เต๊นท์ นั่งร้าน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ มีคุณสมบัติทนทานการกัดกร่อนได้มาก จึงเหมาะสำหรับใช้ในโรงงานที่สารเคมีหรือพื้นที่ใกล้ทะเล ผลิตโดยการชุบกัลวาไนซ์แบบจุ่มร้อน สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำทิ้งในอาคารทั่วไป
ท่อเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์ คาดน้ำเงิน BS-M
ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดน้ำเงิน BS-M ลักษณะความหนาของผนัง บางกว่าคาดแดง (BS-H) แต่หนากว่าคาดเหลือง (BS-S)
เป็นท่อที่นิยม BS-M มอก. ลูกค้าสามารถระบุประเภทที่ต้องการใช้งานได้
มีทั้งปลายเกลียว และปลายเรียบ
สามารถต๊าปเกลียวได้ แนะนำให้เลือกท่อปลายเกลียวจากทางโรงงาน ะสามารถลดอัตราการเกิดสนิมบริเวณเกลียวได้ดีกว่าการทำเกลียวหน้างาน
ใช้งานทั่วไป เช่น ท่อน่ำประปา ท่อน้ำทิ้ง
ความยาวมาตรฐาน 6 เมตร/ท่อน
มีอายุการใช้งานของยาวนานกว่า 20 ปี
การใช้งานท่อประปากัลวาไนซ์ คาดน้ำเงิน
ท่อเหล็กสังกะสี และท่อเหล็กหล่อ สำหรับงานน้ำประปา มักเรียกกันว่า ท่อแป๊ป ส่วนถ้าเป็นท่อโสโครกหรือท่อระบายน้ำ เรียก ท่อน้ำทิ้ง ซึ่งการใช้งานเป็นดังนี้ - ชนิดบาง ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำทิ้งในอาคารทั่วไป - ชนิดหนา ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำที่ต่อใต้พื้นถนน หรือบริเวณที่รับน้ำหนักกด หรือสั่นสะเทือนมาก ขนาด ท่อน้ำโสโครก โดยมากผลิตออกมาขนาดเล็กสุดคือ 2 นิ้ว (ความโตภายใน) แต่นิยมใช้กันทั่วไปขนาด 3-4 นิ้ว มีทั้งชนิดบ่ารับเดี่ยว และบ่ารับคู่
ท่อชุบสังกะสี ท่อกัลวาไนซ์ คาดแดง BS-H
ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดแดง BS-H ลักษณะความหนาของผนัง หนาที่สุด
เหมาะสำหรับใช้ในงานท่อระบายน้ำที่ต่อใต้พื้น ถนน บริเวณที่รับน้ำหนักกดหรือสั่นสะเทือนมาก
มีลักษณะปลายเกลียว ไม่มีปลายเรียบ
ความยาวมาตรฐาน 6 เมตร/ท่อน
มีอายุการใช้งานของยาวนานกว่า 20 ปี
การใช้งานท่อประปากัลวาไนซ์ คาดแดง ท่อเหล็กสังกะสี และท่อเหล็กหล่อ สำหรับงานน้ำประปา มักเรียกกันว่า ท่อแป๊ป ส่วนถ้าเป็นท่อโสโครกหรือท่อระบายน้ำ เรียก ท่อน้ำทิ้ง ซึ่งการใช้งานเป็นดังนี้ - ชนิดบาง ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำทิ้งในอาคารทั่วไป - ชนิดหนา ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำที่ต่อใต้พื้นถนน หรือบริเวณที่รับน้ำหนักกด หรือสั่นสะเทือนมาก ขนาด ท่อน้ำโสโครก โดยมากผลิตออกมาขนาดเล็กสุดคือ 2 นิ้ว (ความโตภายใน) แต่นิยมใช้กันทั่วไปขนาด 3-4 นิ้ว มีทั้งชนิดบ่ารับเดี่ยว และบ่ารับคู่
สรุป
ท่อประปา (Galvanized steel Pipe) หรือ ช่างส่วนใหญ่เรียกว่า แป๊ปน้ำ ท่อ HDG ท่อ GI เกิดจากการ นำท่อเหล็กดำไปชุบสังกะสี เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดสนิม จึงมีคุณสมบัติการป้องกันการเกิดสนิม การกัดกร่อน มีความทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ท่อเหล็กดำ ทั่วไป
โดยแบ่งเป็น 3 สี แดง , เหลือง, น้ำเงิน
ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดแดงมีความหนาสุด และคาดน้ำเงิน / คาดเหลือง รองลงมาตามลำดับ ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของหน้างาน
บทความเขียนและเรียบเรียงโดย บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด
ที่มาแหล่งข้อมูล
สมาคมโลหะไทย https://www.siammetalasso.com/
***หากมีการคัดลอกเนื้อหา ดัดแปลง หรือ ทำซ้ำเนื้อหาส่วนหนึ่ง ส่วนใด ของบทความนี้ ทางบริษัทฯ เอไพร์ม พลัส จำกัด มีเงื่อนไขดังนี้***
การนำข้อมูลส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปใช้ต้องอ้างอิงแหล่งที่มากลับถึงผู้เขียน และต้นฉนับของลิงค์บทความนี้ โดยต้องได้รับความยินยอมจาก บริษัทฯ เอไพร์ม พลัส จำกัด เป็นลายลักษณ์อักษร
หากต้องการนำไป ทำซ้ำ หรือ ดัดแปลง บางส่วน ต้องอ้างอิงกลับมาที่ Link ต้นฉนับของลิงค์บทความนี้โดยได้รับความยินยอมจาก บริษัทฯ เอไพร์ม พลัส จำกัด เป็นลายลักษณ์อักษร
หากมีการนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้โดยละเมิดรายละเอียด ข้อ 1ข้อ 2 และ ข้อ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด ทางบริษัทฯ มีสิทธิ์ขอเรียกเก็บค่าใช้จ่าย บทความและผู้ละเมิดยินดีและยินยอมจ่าย ค่าลิขสิทธิ์บทความ บทความละ 10,000 บาท ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆทั้งสิ้น สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายการกฎหมาย ของบริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด
Comments